วิชาพระพุทธ

วิชาพระพุทธศาสนา

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ

1.หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่ชาวพุทธประการหนึ่งก็คือ ต้องมีความรู้ความเข้าใจหน้าที่และบทบาทของภิกษุ ทั้งนี้เพื่อจะได้ปฏิบัติตนต่อท่านได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
1.1 หน้าที่และบทบาทของภิกษุสามเณร
เมื่อกุลบุตรผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้เข้ารับการบรรพชาอุปสมบทแล้ว บทบาทและหน้าที่หลักเบื้องต้น ที่จะต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเหมือนกันในฐานะพระภิกษุสามเณรคือการศึกษาตามหลักไตรสิขา กล่าวคือ
1.ศีล จะต้องศึกษาพระวินัยแต่ละสิกขาบท ข้อวัตรปฏิบัติ ธรรมเนียมมารยาทต่างๆ ให้เข้าใจเพื่อจะได้สำรวมระวังและปฏิบัติตนได้ถูกต้องตามพระพุทธบัญญัติ ไม่ไห้เกิดโทษในทางวินัย
2. สมาธิ จะต้องศึกษาวิธีการเพิ่มพูนสมาธิ และหมั่นฝึกหัดขัดเกลาอบรมจิตใจให้เกิดความสงบเยือกเย็นมากขึ้นโดยลำดับ มีความหนักแน่นมั่นคง มีความละเอียดอ่อนเพื่อเป็นฐานคิดพิจารณาธรรมขั้นสูง และเพื่อให้สามรถใช้อำนาจแห่งสมาธิขจัดอุปสรรคทางความคิดที่เรียกว่า นิวรณ์ อันได้แก่ ความพอใจรักใคร่ในกามต่างๆ ซึ่งมักจะเกิดในใจคอยขัดขวางมิให้บรรลุความดี
3.ปัญญา จะต้องศึกษาเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพความคิดในการพิจารณาให้เข้าใจถึงความแท้ของสรรพสิ่ง และเพื่อใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือในการขจัดสาเหตุของความทุกข์ทั้งปวงโดยลำดับ จนกว่าจะบรรลุถึงภาวะแห่งความบริสุทธิ์ขั้นสูงสุด กล่าวคือ พระนิพพาน
การให้อบรมสั่งสอนด้วยการเผยแผ่พุทธธรรมในรูปแบบต่างๆ สู่สังคมถือเป็นบทบาทและหน้าที่หลักที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระภิกษุสามเณร ซึ่งถือได้ว่าเป็นการให้คืนแก่สังคมอีกรูปแบบหนึ่ง สังคมต้องพึ่งพาการแนะนำพร่ำสอนจากพระภิกษุสามเณร ทั้งนี้พระภิกษุสามเณรให้ทำหน้าที่ตามบทบาทต่างๆ ดังนี้
1. พระนักเทศน์ พระภิกษุสามเณรที่ได้ศึกษาตามหลักไตรสิกขา และการศึกษาในด้านพระปริยัติธรรม อันได้แก่ การศึกษาหลักพระพุทธธรรมจากพระไตรปิฎกคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ จนมีความแตกฉานชำนาญในระดับหนึ่งแล้ว ก็จะนำมาแสดงหรือเผยแผ่สู่สังคม
5112_1
2.พระธรรมทูต เป็นคำที่ใช้เรียกพระภิกษุที่เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างประเทศ  ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักได้รับการอาราธนาจากพุทธศาสนิกชนชาวไทย และชาวต่างประเทศในประเทศนั้นๆและเนื่องจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ มีความจำเป็นที่พระภิกษุจะต้องศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องอื่นๆ เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียมปฏิบัติ วิถีการดำรงชีวิต เพื่อจะได้สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตในต่างประเทศได้
adbgh69ij9cab6kje95fg
3.พระธรรมจาริก ในบางถูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่สูงป่าเขาลำเนาไพรบางแห่งและบริเวณพรหมแดนใกล้รอยต่อระหว่างประเทศจะมีประชาชนอีกหลายกลุ่ม หลายเผ่าพันธุ์ตั้งหมู่บ้านอยู่ตั้งแต่อดีตอีกจำนวนมาก ทำให้ประชาชนเหล่านี้ยังไม่ได้รับการพัฒนา หรืออาจเรียกได้ว่าผู้ด้อยและขาดโอกาสในการได้รับการพัฒนา จึงพบว่าประชาชนเหล่านี้มักมีคติความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปและบางกลุ่มก็เป็นพุทธศาสนิกชนแต่มีความเชื่อที่ผิดไปจากหลักธรรมที่แท้จริง ทั้งนี้เพราะไม่มีพระภิกษุสามเณรที่มีความรู้แตกฉานคอยให้คำแนะนำพร่ำสอน พระภิกษุสามเณรบางรูได้จาริก (เดินธุดงค์) ไปพบเหตุการณ์ดังกล่าวนี้จึงได้อนุเคราะห์ด้วยการพำนักอยู่ร่วมกับประชาชนเหล่านี้ เพื่อให้การศึกษาอบรมหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง
IMG_7297
4.พระวิทยากร หมายถึง พระภิกษุที่มีบทบาทในการให้ความรู้และการทำหน้าที่ในการให้ความรู้และทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนหลักธรรม ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และการประยุกต์ธรรมเข้ากับการดำรงชีวิตแก่ประชาชนทุกหมู่เหล่า
17
5.พระวิปัสสนาจารย์ หมายถึง พระภิกษุที่มีความชำนาญพิเศษทั้งด้านการปฏิบัติ และในด้านการให้คำแนะนำวิธีปฏิสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ทำหน้าที่แนะนำและให้ฝึกอบรมสมถกรรมและวิปัสสนากรรมฐานแก่พระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป โดยมากจำพรรษาอยู่ในเสนาสนะที่สงบสงัด เป็นผู้นำทางด้านจิตใจให้แก่ประชาชนผู้ต้องการปฏิบัติธรรมชั้นสูง
00000636_0_20130525-140909
6.พระนักพัฒนา ในบางพื้นที่ของประเทศไทย ประชาชนยังมีความเป็นอยู่อัตคัตขัดสนจากปัญหาความยากจน การพัฒนาพื้นที่และปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่สมดุลพระภิกษุบางรูปที่วิเคราะห์เห็นปัญหาของประชาชนในพื้นที่ จึงเริ่มช่วยเหลือด้านการให้คำแนะนำและส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย บางรูปเป็นผู้นำในการรณรงค์ให้ประชาชนรักษาศีล 5 ไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข กล่าวโดยรวมว่า พระภิกษุที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านในลักษณะเช่นนี้ท่านได้มีบทบาทในฐานะ พระนักพัฒนา
600-t131212.10

กล่าวโดยสรุป บทบาทและหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรดังกล่าวมาข้างต้นนั้น ล้วนดำเนินไปเพื่อประโยชน์ของคนในสังคมโดยส่วนรวม ผู้ที่เห็นการบำเพ็ญประโยชน์ของพระภิกษุสามเณรในบทบาบต่างๆดังกล่าวจึงควรถวายการสนับสนุนอุปถัมภ์บำรุงท่านด้วยปัจจัย 4 และสิ่งของที่จำเป็น เพื่อให้ท่านได้ดำรงชีวิตในวิถีแห่งสมณะ และได้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมได้สะดวกมากขึ้น
1.2 การปฏิบัติตามหลักทิศเบื้องล่างในทิศ 6 
พระพุทธศาสนามีคำสอนเรื่องทิศ 6 คือ หลักในการปฏิบัติตนกับบุคคลประเภทต่างๆ ในสังคม 6 ประเภท
 1) การปฏิบัติตนต่อคนงาน ลูกจ้าง และคนรับใช้
นายพึงปฏิบัติต่อคนงาน ลูกจ้าง คนรับใช้ ดังนี้
1.จัดการงานให้ตามความเหมาะสมกับกำลังและความสามารถ
2. ให้ค่าจ้างรางวัล พอสมควรแก่งานและกำลังความสามารถ
3. จัดสวัสดิการดี เช่น ช่วยรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บไข้
4. ได้ของพิเศษแปลกๆมา ก็แบ่งปันให้ตามสมควร
5. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร
2) การปฏิบัติตนต่อนายจ้าง 
คนรับใช้ คนงานและลูกจ้าง ควรปฏิบัติต่อนายจ้าง ดังนี้
1. เริ่มทำการงานก่อนนาย
2. เลิกงานทีหลังนาย
3. ถือเอาแต่ของที่นายให้
4. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
5. นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่
1.3 หน้าที่และบทบาทของอุบาสกอุบาสิกาที่มีต่อสังคมไทยในปัจจุบัน
อุบาสก (ชาย) และอุบาสิกา (หญิง) หมายถึง ชาวพุทธผู้ครองเรือนหรือคฤหัาถ์ผู้อยู่ใกล้พระศาสนา ซึ่งอุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อพระศาสนาและประกอบกิจกรรมทางศาสนามากกว่าชาวพุทธทั่วไป เช่น สามทานรักษาพระอุโบสถศีล (ถือศีล 8) ในวันพระเป็นต้น อุบาสก อุบาสิกาที่ดีควรยึดหลัก ” อุบาสกธรรม 7 ” เป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติตน ดังนี้
1.หมั่นไปวัดตามโอกาสที่เหมาะสม เพราะ การไปวัดจะได้พบปะกับพระภิกษุผู้ทรงศีลทรงคุณธรรมหรือได้พบกับมิตรที่สนใจในเรื่องธรรมเหมือนกับเรา ย่อมได้ชื่อว่าเป็นการคบหากัลยาณมิตร หรือเรียกว่ามิตรที่ดี ซึ่งจะส่งเสริมให้มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้น ดังพุทธสุภาษิตที่ว่า
ยํ เว เสวติ ตาทิโส ( ยังเว เสวะติ ตาทิโส ) คบคนเช่นไรก็เป็นคนเช่นนั้นแล
2. หมั่นฟังธรรม เมื่อมีโอกาสควรใส่ใจในการฟังธรรมอยู่เสมอ เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้ได้รู้สิ่งไม่รู้ ส่วนสิ่งที่รู้แล้วก็จะช่วยให้เข้าใจยิ่งขึ้น เช่น การไปวัดเพื่อฟังเทศน์ ฟังธรรมตามโอกาสต่าง ๆ ฟังการแสดงธรรมเทศนาทางวิทยุหรือทางโทรทัศน์  เป็นต้น
3.พยายามสนใจศึกษาและรักษาศีลให้บริสุทธิ์ โดยนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศานามาใช้ปรับปรุงวิถีการดำเนินชีวิตให้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนเองว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่แท้จริง
4. มีความเลื่อมใสในพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์แต่ละรูปได้เสียสละความสุขทางโลก เพื่อมาประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอันเป็นหนทางไปสู่ความหลุดพ้นจากทุกข์และพระสงฆ์ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบต่ออายุของพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวตลอดไป
5. ตั้งจิตให้เป็นกุศลในขณะฟังธรรม มิใช่ฟังธรรมโดยคิดในแง่ อคติ คิดขัดแย้ง พยายามฟังธรรมเพื่อก่อให้เกิดกุศล จิตใจจะได้เป็นสุข
6. ทำบุญกุศลตามหลักและวิธีการของพระพุทธศาสนา ไม่แสวงบุญนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า ควรประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
7.ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาในทุก ๆ ด้าน ถ้าสามารถช่วยเหลือพระพุทธศาสนาได้ ด้วยวิธีการใดก็ควรขวนขวายเร่งรีบกระทำ อาทิ การตั้งชมรมพุทธศาสน์ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย จัดให้มีการอบรมเยาวชน บุคคลทั่วไป หรือ คนต่างชาติให้เข้าใจใน พระพุทธศาสนา

2. มารยาทชาวพุทธ

2.1 การปฏิสันถารที่เหมาะสมต่อพระภิกษุ
 ปฏิสันถาร หมายถึง การทักทายปราศรัยหรือต้อนรับในโอกาสต่างๆ ในงานพิธีที่ต้องมีพระภิกษุประกอบในงานด้วย พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติตนในการปฏิสันถารต่อภิกษุสงฆ์อย่างเหมาะสมดังนี้
 1) การลุกขึ้นต้อนรับ  การลุกขึ้นต้อนรับมาจากคำว่า ” อุฏฐานะ ” เป็นการเคารพอย่างหนึ่งเมื่อพระสงฆ์เดินมายังสถานที่พิธีนั้นๆ คฤหัสถ์ชายหญิงที่นั่งอยู่ในงานนั้นพึงปฏิบัติ ดังนี้
  1.1 ถ้านั่งเก้าอี้พึงลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านพึงยกมือไว้แบบพระรัตนตรัย เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามปกติ
1.2 ถ้านั่งกับพื้นไม่ต้องยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาถึงเฉพาะหน้าพึงยกมือไหว้หรือกราบสุดแท้แต่ความเหมาะสมในสถานที่นั้นๆ
2) การให้ที่นั่งพระสงฆ์ การให้ที่นั่งพระสงฆ์ มาจากคำว่า ” อาสนทาน ” ใช้ในเวลาพระสงฆ์มามณฑลพิธีซึ่งไม่มีที่ว่าง การแสดงความเคารพแก่พระสงฆ์พึงปฏิบัติดังนี้ 
2.1 ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้นนั่งเก้าอี้ เมื่อพระสงฆ์มาในงานนั้น ฆราวาสชายหญิงพึงลุกขึ้นให้พระสงฆ์มานั่งเก้าอี้แถวหน้า
 2.2 ถ้าจำเป็นต้องนั่งแถวเดียวกับพระสงฆ์ พึงนั่งเก้าอี้ด้านซ้ายมือท่านเสมอ
 2.3 สำหรับสตรีเพศจะนั่งอาสนะยาว เช่น ม้ายาวเดียวกับพระสงฆ์ต้องมีบุรุษเพศนั่คั่นในระหว่างกลาง จึงไม่เกิดโทษแก่พระสงฆ์
2.4 ถ้าสถานที่ชุมนุมนั้นนั่งกับพื้น พึงจัดอาสนสงฆ์ให้เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากฆราวาส
3) การรับรอง วัตถุทุกส่งที่ใช้ต้องมีฐานรองรับ เช่น ตึกต้องมีเสาเข็มเป็นฐานรองรับ แต่สำหรับคนมีคุณธรรมเป็นฐานรองรับ แต่สำหรับคนมีคุณธรรมเป็นฐานรองรับ อันได้แก่
3.1 เมื่อท่านมาถึงบ้านหรือสถานที่แล้ว ควรรับรองท่านด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดี ด้วยใบหน้าอันยิ้มแย้มแจ่มใสพอใจรับรอง เช่น นิมนต์ให้นั่งในที่อันสมควรซึ่งได้จัดไว้
3.2 ถวายของรองรับ เช่น น้ำดื่ม น้ำชา น้ำเย็น เป็นต้น
3.3 ควรนั่งสนทนากับท่านด้วยความพอใจ ไม่ควรปล่อยให้ท่านนั่งอยู่รูปเดียวอนึ่ง การนั่งนั้นพึงนั่งเว้นโทษ 6 อย่างดังนี้
1. ไม่นั่งตรงหน้า
2. ไม่นั่งไกลนัก
3. ไม่นั่งสูงกว่า
4. ไม่นั่งข้างหลัง
5. ไม่นั่งใกล้นัก
6. ไม่นั่งเหนือลม
4) การตามส่งพระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์ที่ท่านมาเยี่ยม หรือที่นิมนต์ท่านมาในงานพิธีต่างๆ จะกลับ เจ้าภาพหรือผู้อยู่ในงานพิธีนั้นควรปฏิบัติดังนี้ 
 4.1 ถ้านั่งเก้าอี้พึงลุกขึ้นยืน เมื่อท่านเดินมาเฉพาะหน้า ให้ยกมือไหว้
4.2 ถ้านั่งกับพื้นไม่ต้องยืน เมื่อท่านเดินผ่านมาเฉพาะหน้า พึงไหว้หรือกราบแสดงความเคารพตามความเหมาะสมแก่สถานที่
 4.3 สำหรับเจ้าภาพในงาน พึงเดินไปส่งท่านจนพ้นบริเวณงานหรือจนกว่าจะขึ้นรถออกจากบริเวณหน้างาน อนึ่ง ก่อนที่ท่านจะจากไปพึงยกมือไหว้เพื่อแสดงความเคารพเป็นการส่งท่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาษาไทย

คณิตศาสตร์เสริม